ขบวนรถไฟ CNR เที่ยวพิเศษ จัดส่งผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อโควิด-19 เข้ารับการรักษาในจังหวัดภูมิลำเนา

ขบวนรถไฟ CNR เที่ยวพิเศษ จัดส่งผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อโควิด-19 เข้ารับการรักษาในจังหวัดภูมิลำเนา

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยในฐานะรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบการประสานและบริหารการจัดส่งผู้ป่วยโควิด-19 ในจังหวัดภูมิลำเนา 7 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนใต้ ว่า ในวันที่ 27 ก.ค.2564 เมื่อเวลา 09.00 น. ที่ผ่านมา การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. และกระทรวงสาธารณสุข โดยความร่วมมือของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ หรือ สพฉ. จัดขบวนรถไฟ CNR เที่ยวพิเศษขบวนแรก 971 เส้นทางต้นทางสถานีรถไฟรังสิต – ปลายทางอุบลราชธานี ให้บริการโดยสารสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่แสดงความประสงค์จะเดินทางกลับไปรักษาอาการที่ภูมิลำเนา ใน 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีษะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ และยโสธร โดยมีผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการไม่รุนแรงและรุนแรงงานในระดับกลาง หรือมีอาการระดับเขียว – และเหลือง จำนวน 137 คน เดินทางไปกับขบวนรถดังกล่าว 

โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน 3 ขั้นตอน สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการเดินทางกลับภูมิลำเนา ให้แจ้งความประสงค์ผ่าน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. และแสดงความประสงค์ผ่านระบบ Call center จังหวัดภูมิลำเนาและได้รับการดูแล คัดกรอง ตรวจสอบสภาพความพร้อม และอาการเบื้องต้นจาก สพฉ. ซึ่งจะเป็นหน่วยงานในการดูแล ผู้ป่วยจากที่พักมายังสถานีต้นทาง และดูแลอาการ สุขอนามัย ตามมาตรฐานด้านการสาธารณสุขอย่างเข้มงวดตลอดการเดินทาง ในส่วนของ การรถไฟฯ จะดูแลเรื่องการเดินขบวนรถไฟ ตลอดจนการอำนวยความสะดวกตลอดการเดินทาง จนถึงจังหวัดปลายทาง ให้เป็นไปตามมาตรการด้านสาธารณสุข ส่วนผู้ว่าราชการจังหวัดภูมิลำเนาและหน่วยบริการสาธารณสุข หน่วยทหารและขนส่งจังหวัด ร่วมในการรับ – ส่ง ผู้ป่วยจากสถานีรถไฟจังหวัดปลายทาง ไปยังสถานพยาบาลที่จังหวัดจัดเตรียมไว้ให้หากพบมีปริมาณความต้องการเดินทางของผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก กระทรวงคมนาคมพร้อมจัดระบบ ขนส่งทางบก - ทางราง โดยบูรณาการร่วมกับทุกภาคส่วนอย่างเต็มที่

อย่างไรก็ตาม ระหว่างการส่งผู้ป่วยโดยรถขบวนพิเศษ จะมีเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุข ไปกับขบวนรถ เพื่อดูแลผู้ป่วย และความเรียบร้อยในขบวนรถ มีการแยกกลุ่มผู้ป่วยที่ชัดเจน เช่น กรณีของ รฟท.จะมีการแยกโบกี้ระหว่างผู้ป่วยกลุ่มยืนยันด้วยผลตรวจ RT PCR positive กับกลุ่มผลตรวจ ATK positive เพื่อป้องกันกรณีที่ผู้มีผลตรวจ ATK positive คลาดเคลื่อนมาปะปนกับผู้ที่ผลตรวจชัดเจนแล้ว และก่อนออกเดินทาง สพฉ. จะมีการประเมินอาการของผู้ป่วยทุกรายก่อนให้ออกเดินทาง ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยเองจะได้รับโอกาสเข้าถึงการรักษาทางการแพทย์อย่างทันท่วงที และนำความปลอดภัยมาสู่ประชาชน ที่ได้รับเชื้อจากการแพร่ระบาดของไวรัส โควิด – 19

ที่มา : สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar