เดินหน้าวิจัยพืชไร่ดูดซับก๊าซเรือนกระจกและกักเก็บคาร์บอน พบพันธุ์อ้อยให้ผลผลิตสูงมีศักยภาพกักเก็บคาร์บอน

เดินหน้าวิจัยพืชไร่ดูดซับก๊าซเรือนกระจกและกักเก็บคาร์บอน พบพันธุ์อ้อยให้ผลผลิตสูงมีศักยภาพกักเก็บคาร์บอน

img-slide

กรมวิชาการเกษตร เดินหน้าวิจัยพืชไร่ดูดซับก๊าซเรือนกระจกและกักเก็บคาร์บอน พบพันธุ์อ้อยให้ผลผลิตสูงมีศักยภาพกักเก็บคาร์บอน

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตรได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาวิจัยพืชไร่เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยที่มีศักยภาพในการดูดซับก๊าซเรือนกระจกและกักเก็บคาร์บอนไว้ในพืชและในดินเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการร่วมมือเพื่อป้องกันปัญหาภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นบทบาทและภารกิจที่สำคัญประการหนึ่งของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งนอกเหนือจากพื้นที่ป่าไม้แล้วพื้นที่เพาะปลูกพืชยังเป็นแหล่งดูดซับก๊าซเรือนกระจกและกักเก็บคาร์บอนที่สำคัญเช่นกัน

โดยข้อมูลในปี 2563/2564 ที่มีพื้นที่ปลูกอ้อยรวมกว่า 10 ล้านไร่ จึงมีโอกาสที่จะกักเก็บคาร์บอนไว้ในระบบปลูกอ้อยได้ สามารถดูดซัคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศ โดยกระบวนการสังเคราะห์แสงและนำมาสะสมในรูปของมวลชีวภาพในส่วนต่างๆ ของอ้อย จากการศึกษาวิจัยและประเมินศักยภาพในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ของอ้อยจำนวน 6 พันธุ์ ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี พบว่า ปริมาณอินทรีย์คาร์บอนมีความแตกต่างกันระหว่างพันธุ์ ระยะการเจริญเติบโต และสภาพแปลงปลูก แต่เปอร์เซ็นต์อินทรีย์คาร์บอนในชีวมวลไม่มีแตกต่างกันระหว่างพันธุ์และการเจริญเติบโต แต่แตกต่างตามส่วนต่างๆ ของอ้อย และระยะการเจริญเติบโตของพืช ตำแหน่งใบ สภาพพื้นที่ปลูกและการจัดการดินและน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้ งานวิจัยยังสรุปได้ว่า พื้นที่ปลูกกว่า 10 ล้านไร่นั้น ผลผลิตเฉลี่ย 7.21 ตันต่อไร่จะสามารถช่วยดูดซับคาร์บอนในบรรยากาศมาอยู่ในรูปของลำอ้อยทั้งหมดได้ 215.1 ล้านตัน

ที่มา : สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar