สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 22 ก.ย. 65

+ ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมกระโชกแรงบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งภาคตะวันออก
+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ กรุงเทพมหานคร (127 มม.) จ.กาฬสินธุ์ (76) และ จ.จันทบุรี  (71 มม.)  
+ เฝ้าระวังระดับน้ำบริเวณแม่น้ำชี-มูล ตั้งแต่วันที่ 21 ก.ย. 65 ดังนี้
1. ลุ่มน้ำชี บริเวณ จ.กาฬสินธุ์ บริเวณ อ.กมลาไสย กุฉินารายณ์ ฆ้องชัย เมืองกาฬสินธุ์ ยางตลาด และร่องคำ จ.ขอนแก่น บริเวณ อ.โคกโพธิ์ไชย ชนบท บ้านแฮด พระยืน มัญจาคีรี แวงน้อย และแวงใหญ่ จ.ชัยภูมิ บริเวณ อ.คอนสวรรค์ เนินสง่า และเมืองชัยภูมิ จ.นครราชสีมา บริเวณ อ.แก้งสนามนาง และบ้านเหลื่อม จ.มหาสารคาม บริเวณ อ.โกสุมพิสัย กันทรวิชัย เมืองมหาสารคาม และ จ.ยโสธร บริเวณ อ.ค้อวัง คำเขื่อนแก้ว มหาชนะชัย และเมืองยโสธร จ.ร้อยเอ็ด บริเวณ อ.จังหาร เชียงขวัญ ทุ่งเขาหลวง ธวัชบุรี พนมไพร โพธิ์ชัย โพนทอง เมยวดี เมืองสรวง เสลภูมิ สุวรรณภูมิ และอาจสามารถ
• 2. ลุ่มน้ำมูล บริเวณ จ.นครราชสีมา บริเวณ อ.ชุมพวง ลำทะเมนชัย และเมืองยาง จ.บุรีรัมย์ บริเวณ อ.แคนดง และสตึก จ.สุรินทร์ บริเวณ อ.ชุมพลบุรี ท่าตูม และรัตนบุรี จ.ศรีสะเกษ บริเวณ อ.บึงบูรพ์ ห้วยทับทัน ราษีไศล เมืองศรีสะเกษ  และกันทรารมย์ จ.อุบลราชธานี บริเวณ อ. เขื่องใน เมืองอุบลราชธานี วารินชำราบ และสว่างวีระวงศ์
+ แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 
+ ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 56,689 ลบ.ม. (69%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 49,378 ล้าน ลบ.ม. (69%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 1 แห่ง บริเวณภาคเหนือ และภาคใต้ เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 14 แห่ง ได้แก่ แม่งัด แม่มอก ทับเสลา กระเสียว อุบลรัตน์ ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน ขุนด่าน คลองสียัด บางพระ หนองปลาไหล นฤบดินทร และบึงบระเพ็ด
+   วานนี้ (21 ก.ย. 65) ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เป็นประธานการประชุมคณะทำงานด้านอำนวยการ กอนช. ครั้งที่ 3/2565 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณากำหนดเกณฑ์บริหารจัดการน้ำ โดยเบื้องต้นกำหนดให้มีปริมาณน้ำ ณ สถานี อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา 3,000 ลบ.ม./วินาที ซึ่งปรับลดลงจากเกณฑ์เดิมซึ่งอยู่ในอัตรา 3,500 ลบ.ม./วินาที ทั้งนี้ กอนช. ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พิจารณาสนับสนุนการปล่อยปลาเพื่อใช้สำหรับเป็นอาหารและสร้างรายได้เสริมให้แก่ประชาชนในช่วงระหว่างการรับน้ำเข้าทุ่ง และจะมีการเร่งระบายน้ำออกจากทุ่งเมื่อสถานการณ์คลี่คลายแล้ว โดยจะยังคงเหลือปริมาณน้ำไว้จำหนวนหนึ่ง ตามนโยบายของพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการ กอนช. เพื่อใช้สำหรับเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง โดยต้องเป็นพืชที่เหมาะสม
กับปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่
กรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ใช้การคาดการณ์จากแนวโน้มปริมาณฝนสูงสุด หรือกรณีการมีพายุจรเกิดขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการประเมินปริมาณน้ำ
เหนือเขื่อนเจ้าพระยาและแนวทางในการบริหารจัดการน้ำ
กรมชลประทานให้ปรับเกณฑ์เพิ่มการระบายน้ำและต้องเฝ้าระวังหากมีฝนเพิ่มขึ้น โดยจะต้องมีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด


image รูปภาพ
สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 22 ก.ย. 65

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar