สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 24 พ.ค. 66 เวลา 7.00 น.

+ ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก  
+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.บุรีรัมย์ (67) จ.สระบุรี (66) จ.ลำปาง (64) จ.ราชบุรี (51) จ.ระยอง (44) และ จ.พังงา (35)
+ ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 43,816 ล้าน ลบ.ม. (53%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 39,458 ล้าน ลบ.ม. (55%)
+ คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี ยกเว้นแม่น้ำบางปะกง ค่าความเค็มสูงเกินมาตรฐาน และแม่น้ำท่าจีนค่าออกซิเจนต่ำกว่ามาตรฐาน
+   กรมทรัพยากรน้ำ ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา ประชาชนได้รับประโยชน์ 90 ครัวเรือน และ อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช ประชาชนได้รับประโยชน์ 1,723 ครัวเรือน พื้นที่เกษตร 17,450 ไร่
+ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) พบพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำนองไม่สามารถระบายได้ทัน ในช่วงวันที่ 27 พ.ค.–1 มิ.ย. 66 ดังนี้
ภาคเหนือ จ.เพชรบูรณ์ (อ.หล่มเก่า)
ภาคกลาง จ.เพชรบุรี (อ.ท่ายาง บ้านลาด และเมืองเพชรบุรี) จ.ประจวบคีรีขันธ์ (อ.หัวหิน และปราณบุรี)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.สุรินทร์ (อ.เมืองสุรินทร์) จ.บุรีรัมย์ (อ.เมืองบุรีรัมย์) จ.อุบลราชธานี (อ.เมืองอุบลราชธานี และพิบูลมังสาหาร)
ภาคตะวันออก จ.ชลบุรี (อ.เมืองชลบุรี) จ.ระยอง (อ.เมืองระยอง และแกลง) จ.จันทบุรี (อ.เมืองจันทบุรี) จ.ตราด (อ.เมืองตราด และเขาสมิง)
ภาคใต้ จ.ชุมพร (อ.พะโต๊ะ) จ.ระนอง (อ.กะเปอร์ เมืองระนอง และสุขสำราญ) จ.พังงา (อ.กะปง คุระบุรี ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า และท้ายเหมือง) จ.ภูเก็ต (อ.กะทู้ ถลาง และเมืองภูเก็ต) จ.กระบี่ (อ.เกาะลันตา คลองท่อม เมืองกระบี่ เหนือคลอง และอ่าวลึก) จ.ตรัง (อ.เมืองตรัง กันตัง และปะเหลียน) จ.สตูล (อ.ทุ่งหว้า)
ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ กอนช. ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้
1. ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ หรือพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำนองไม่สามารถระบายได้ทัน
2. เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ ลอกท่อระบายน้ำ และบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที
3. ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้าให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar