การนํากรวย แผงเหล็ก เก้าอี้ หรือสิ่งใดไปตั้งขวางพื้นที่ไว้ไม่ให้ใครมาจอด มีความผิดตามกฎหมาย

การนํากรวย แผงเหล็ก เก้าอี้ หรือสิ่งใดไปตั้งขวางพื้นที่ไว้ไม่ให้ใครมาจอด มีความผิดตามกฎหมาย

หากเป็นพื้นที่ส่วนบุคคลสามารถทําได้ หากเป็นที่สาธารณะ ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 114 ซึ่งบัญญัติว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดวาง ตั้ง ยื่น หรือแขวนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือกระทำด้วยประการใดๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจร แต่หัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรจะอนุญาตได้ก็ต่อเมื่อมีเหตุอันจำเป็นและเป็นการชั่วคราวเท่านั้น ผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง นอกจากจะมีความผิดตามมาตรา 148 แล้ว หัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจสั่งให้ผู้ฝ่าฝืนรื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายสิ่งกีดขวางดังกล่าวได้ ถ้าไม่ยอมรื้อถอนหรือเคลื่อนย้าย ให้หัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจรื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายได้”
ซึ่งมาตรา 148 เป็นบทกำหนดโทษ โดยโทษของการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 114 วรรคหนึ่ง คือต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท นอกจากนั้นยังมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 385 ที่กำหนดว่า “ผู้ใด ไม่ได้รับอนุญาตอันชอบด้วยกฎหมายกีดขวางทางสาธารณะ จนอาจเป็นอุปสรรคต่อความปลอดภัยหรือความสะดวกในการจราจร โดยวาง หรือทอดทิ้งสิ่งของ หรือโดยกระทำด้วยประการอื่นใด ถ้าการกระทำนั้นเป็นการกระทำโดย  ไม่จำเป็นต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท”
ส่วนการติดป้ายห้ามจอด ถือเป็นการทำสัญญาณหรือเครื่องหมายจราจร ถ้ามิได้เป็นเจ้าพนักงานอาจจะมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจร พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 28 ที่กำหนดว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดนอกจาก      เจ้าพนักงานจราจรหรือเจ้าพนักงาน ทำ ติดตั้ง หรือทำให้ปรากฏซึ่งสัญญาณจราจร หรือเครื่องหมายจราจรในทางที่     ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนดตามมาตรา 21” ซึ่งจะมีผลให้เจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจยึด รื้อถอน ทำลาย หรือทำให้สิ้นไปซึ่งสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรนั้นได้ ตามมาตรา 30 กำหนดให้ สัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรที่ทำ ติดตั้งหรือทำให้ปรากฏในทาง โดยฝ่าฝืนมาตรา 28 ดังกล่าว หัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจยึด รื้อถอน ทำลาย หรือทำให้สิ้นไปซึ่งสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรนั้นได้

ข้อมูลจาก : พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 28 มาตรา 30 มาตรา 114 และมาตรา 148 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 385
ทั้งนี้ ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับคำปรึกษาด้านกฎหมาย บริการด้านงานยุติธรรมต่าง ๆ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
1. สายด่วนยุติธรรม 1111 กด 77 ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง
2. จดหมาย : ตู้ไปรษณีย์ 3 หลักสี่ กทม. 10210
3. เว็บไซต์ : https://www.moj.go.th/ และระบบให้บริการประชาชน http://mind.moj.go.th
4. อีเมลล์ : complainingcenter@moj.go.th
5. แอปพลิเคชันไลน์ Lind id : Svl007
6. เฟสบุ๊ค : ศูนย์บริการร่วมกระทรวงยุติธรรม และกระทรวงยุติธรรม Ministry Of Justice, Thailand
7. แอปพลิเคชัน Justice Care : บริการรับเรื่องยุติธรรมสร้างสุข
8. สำนักงานยุติธรรมจังหวัดทั่วประเทศ
9. กองทุนยุติธรรม โทร 063-2697056 หรือ Facebook: กองทุนยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar