สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 1 ส.ค. 65

+ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง 
+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.สระแก้ว (115 มม.) จ.สุรินทร์ (107 มม.) และ  จ.พิษณุโลก  (83 มม.)
+ แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 
+ ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 46,171 ล้าน ลบ.ม. (56%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 40,170 ล้าน ลบ.ม. (56%) เฝ้าระวังน้ำน้อย บริเวณภาคเหนือ (3 แห่ง) 
+           
กอนช. ติดตามผลการบริหารจัดการน้ำ 13 มาตรการรับมือ ฤดูฝน ปี 2565 และเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำ ในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง โดยสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ร่วมกับ กรมชลประทาน (ชป.) ตรวจสอบสภาพความมั่นคงและความพร้อมใช้งานประตูระบายน้ำ (ปตร.) ในพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา (ผักไห่ เจ้าเจ็ด-บางยี่หน พระยาบรรลือ และพระพิมล) พร้อมทั้งติดตามสภาพปัญหาน้ำท่วมริมแม่น้ำน้อย ในพื้นที่ อ.เสนา และผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา พบว่า มีน้ำเอ่อล้นและท่วมในบางพื้นที่ของ จ.พระนครศรีอยุธยา และในพื้นที่ ชัณสูตร-ยางมณี จ.อ่างทอง ค่อนข้างมาก ซึ่งปริมาณน้ำได้ไหลมา สมทบกับน้ำเจ้าพระยาที่ระบายออกมาจาก ปตร.บรมธาตุ จ.ชัยนาท  ลงสู่แม่น้ำน้อย จ.ชัยนาท โดยจะไหลผ่าน จ.สิงห์บุรี อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้ หากมีปริมาณน้ำมากในช่วงปลายเดือนสิงหาคม-กันยายน 65 จะต้องระบายน้ำลงพื้นที่ทุ่งรับน้ำ ควบคู่กับการระบายน้ำลงท้ายเขื่อนเจ้าพระยา โดยจะสามารถระบายน้ำเข้าทุ่งรับน้ำได้หลังเกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วเสร็จในกลางเดือนกันยายน 
ในขณะที่สถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา อ.เมือง จ.นครสวรรค์  ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 6.35 ม. มีแนวโน้มลดลง โดยจะมีน้ำไหลผ่าน เขื่อนเจ้าพระยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ลดลงตามลำดับ ตั้งแต่ วันที่ 30 ก.ค. 65 ซึ่งจะส่งผลให้พื้นที่บริเวณท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ระดับน้ำลดลงในระยะต่อไป ทั้งนี้ กอนช. ได้ประสานให้ ชป. บริหารจัดการน้ำโดยควบคุมปริมาณการระบายน้ำผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ฝนที่ตกลงมา  และติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดต่อไป


image รูปภาพ
สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 1 ส.ค.  65

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar