Kick Off #เปิดการส่งน้ำเตรียมความพร้อมการทำนาปี 2567

อาจเป็นรูปภาพของ 5 คน และ ข้อความพูดว่า "双0 PRDSOCIAL PRD SOCIAL แนะารบมันต์ ก.เกษตรฯ ก. Kick Off เปิดการส่งน้ำ น้ำ พร้อมทำนาปี 2567 fooo กรมประชาสัมพันธ/.. กรมประชาสัมพันธ์"

นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผย หลังลงพื้นที่เปิดการส่งน้ำเพื่อเตรียมความพร้อม การทำนาปี 2567 ในพื้นที่สำนักงานชลประทานที่ 12 จังหวัดชัยนาท และจังหวัดสุพรรณบุรี เปิดประตูระบายน้ำ จำนวน 3 จุด ประกอบด้วย

จุดที่ 1 ปากคลองมะขามเฒ่า-อู่ทอง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพลเทพ

จุดที่ 2 ประตูระบายน้ำปากคลองส่งน้ำ 1 ซ้าย โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาสามชุก

จุดที่ 3 ประตูระบายน้ำปากคลองส่งน้ำ 1 ขวา

การบริหารจัดการน้ำช่วงฤดูฝน ปี 2567 และแนวทางการเพาะปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้ง

วัตถุประสงค์ การเปิดครั้งนี้ ถือเป็นการ Kick Off เพื่อเตรียมความพร้อมการบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอ ต่อการทำเกษตรของเกษตรกรในพื้นที่

• แนะนำให้เกษตรกรใช้น้ำฝนทำเกษตรเป็นหลัก

• ใช้น้ำชลประทานสนับสนุน ซึ่งเป็นการวางแผนการใช้น้ำภาพรวมของประเทศให้เพียงพอตลอดฤดูการเพาะปลูกข้าวนาปี 2567

• พร้อมให้หน่วยงานในสังกัดที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ พร้อมสนับสนุน

• ส่งเสริมองค์ความรู้แก่เกษตรกรในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านพืช ประมง และปศุสัตว์ อาทิ

 การเพาะปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้ง

 การปลูกพืชหลังนา

 การแจกเมล็ดพันธุ์พืชใช้น้ำน้อยที่มีอายุสั้น เก็บเกี่ยวผลผลิตเร็ว

 ตลาดมีความต้องการสูงหลายชนิด ได้แก่ ถั่วลิสง ข้าวโพดฝักอ่อน และมันฝรั่ง การสนับสนุนพันธุ์ปลา

 การส่งเสริมการเลี้ยงโค-กระบือ

นอกจากจะช่วยส่งเสริมการใช้น้ำเพื่อเกษตรกรรมอย่างคุ้มค่ามีประสิทธิภาพ และรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืนแล้ว ยังเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรอีกทางหนึ่งด้วย

สถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ

1. สภาพอากาศ : วันที่ 3 – 6 พฤษภาคม คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกพัดปกคลุมภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมีแนวพัดสอบของลมตะวันตกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และด้านตะวันตกของภาคเหนือและภาคกลาง ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นบางพื้นที่

2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 54% ของความจุเก็บกัก (43,732 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 34% (19,565 ล้าน ลบ.ม.) การประเมินสถานการณ์แหล่งน้ำเฝ้าระวังน้ำน้อย 4 แห่งภาคเหนือ: สิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จุฬาภรณ์ ภาคตะวันออก: คลองสียัด ภาคกลาง : กระเสียว (ต้องเฝ้าระวังในช่วงฤดูแล้ง)

3. แนวทางการบริหารจัดการน้ำ : สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ระบุว่า ประเทศไทยเข้าสู่ช่วงปลายของสถานการณ์เอลนีโญแล้ว สำหรับระหว่างวันที่ 3 – 9 พฤษภาคม มีแนวโน้มที่จะมีฝนตกในลักษณะของฝนฟ้าคะนองและเกิดพายุฤดูร้อนได้ แต่ฝนจะยังไม่กระจายตัวทั้งประเทศ โดยจะมีปริมาณฝนมากในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ รวมถึงบริเวณตอนกลางของประเทศที่จะมีฝนตกในระดับหนึ่งเช่นกัน สามารถช่วยคลี่คลายความร้อนและสถานการณ์แล้งในเบื้องต้นได้ คาดว่าประเทศไทยจะเข้าสู่ฤดูฝนในช่วงประมาณสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนนี้ อย่างไรก็ตาม ปริมาณฝนคาดการณ์ในช่วงเดือนพฤษภาคม จะยังคงน้อยกว่าปกติ ก่อนจะมีฝนเพิ่มมากขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายน อย่างไรก็ตาม ประมาณกลางเดือนมิถุนายน ถึงช่วงต้นเดือนกรกฎาคม อาจจะเกิดฝนทิ้งช่วงได้ในบางพื้นที่ จึงได้มีการสำรองน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ไว้เพื่อเตรียมรองรับสถานการณ์ รวมถึงการวางแผนเพาะปลูกเพื่อป้องกันผลผลิตเกิดความเสียหาย โดยเฉพาะพื้นที่นอกเขตชลประทาน

ที่มา : PRD SOCIAL


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar